พละ
แปลว่ากำลัง เป็นพรข้อที่ ๔ และเป็นข้อสุดท้ายในจตุรพิธพร
มนุษย์ทุกคนถ้ามีพละกำลังน้อยหรือหมดแรง ความเป็นอยู่ก็จะจืดชืด ไม่มีชีวิตชีวา
โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้แรงกายมากๆ เช่น อาชีพกรรกรแบกหาม เป็นต้น
ถ้าขืนไปหมดแรงขณะที่กำลังแบกหามหรือกำลังทำงานอยู่ นายจ้างคงไล่ออกแน่นอน
พระพุทธศาสนามุ่งเน้นไปในทางปฏิบัติและฝึกฝน
ดังคำพระพุทธศาสนสุภาษิตว่า “ในหมู่มนุษย์เรานี้ คนที่ฝึกแล้วเท่านั้น
เป็นผู้ประเสริฐที่สุด” แม้แต่พระสงฆ์ท่านสวดมนต์ให้พรก็ว่า
“ขอให้ท่านจงเจริญด้วยพละกำลัง” เราต้องฝึกฝนตนเองทั้งด้านกำลังทางกายและกำลังทางใจ
คือ
ด้านกำลังกาย
เราต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ
ส่วนด้านกำลังใจ พระพุทธศาสนาได้วางหลักปฏิบัติไว้ ๕ แนวทาง คือ
๑.
สัทธา มีความเชื่อมั่น
คือเชื่อว่าสิ่งที่เราจะทำ พูด คิด เป็นเรื่องอยู่ในวิสัยที่เราสามารถทำได้
๒.
วิริยะ คือฝึก ทำ คิดบ่อยๆ ถ้าปฏิบัติครั้งเดียวไม่สำเร็จต้องทำหลายๆ
ครั้งจนกว่าจะสำเร็จ
๓.
สติ คือรู้สึกตัวทุกขณะจิต รู้สึกตัวขณะปฏิบัติกิจที่ทำ คำที่พูด และเรื่องที่คิด
๔.
สมาธิ คือ มีความรอบรู้ รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรดีอะไรชั่ว รู้ว่าทำเหตุอย่างนี้ผลจะเป็นอย่างไร
เห็นผลอย่างนี้แล้วรู้ว่ามาจากเหตุอะไร แล้วสามารถ ทำ พูด คิด
ให้เกิดผลที่ถูกต้องดีงามขึ้นมาได้
หลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดพละกำลัง
ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ผู้หวังจะมีกำลัง
จำต้องฝึกฝนให้เกิดมีในตนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ทั้งต้องฝึกฝนสร้างสมให้เกิดมีขึ้นพร้อมบริบูรณ์ทั้ง ๕
มิใช่มีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง พละกำลังที่ต้องการจึงจะเกิดมีขึ้นได้อย่างสมบูรณ์
มนุษย์ในโลกนี้
หากสมบูรณ์ทั้งกำลังกายและกำลังใจแล้ว จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็เป็นสุข
แม้แต่ทำงานหนักก็ยังเป็นสุข ดังนั้น พละจึงเป็นสิ่งประเสริฐที่น่าปรารถนาโดยแท้
..........................................