เมื่อกล่าวถึงคำว่า
หนี้ ถ้ามองในแง่บุคคล จะประกอบด้วยกลุ่มชน ๒ ฝ่าย คือ เจ้าหน้า และลูกหนี้ และไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม
พอเข้ามาสู่ระบบหนี้แล้ว ก็มักจะเกิดความกลัวขึ้นด้วยกันทั้งนั้น คือ ฝ่ายเจ้าหนี้
กลัวว่าจะถูกโกง ฝ่ายลูกหนี้ กลัวจะหาเงินมาใช้คืนไม่ทันกำหนด
กลัวถูกทวง จึงเกิดความทุกข์ใจว่ายืมเขามาใช้ประเดี๋ยวก็หมด
แต่เวลาใช้คืนกว่าจะหมดช่างนานจริงๆ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว วัน เวลา
ก็คงดำเนินไปเป็น ปกติ แต่ที่ผิดปกติก็คือ ความรู้สึกของลูกหนี้ต่างหาก กล่าวโดยภาพรวมในทางธรรม
อาจจะแบ่งหนี้ ออกเป็น ๒ ประเภท คือ หนี้สิน กับหนี้กรรม
หนี้สิน
ได้แก่ ทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้ที่เรียกว่า เจ้าหนี้
และผู้รับที่เรียกว่า ลูกหนี้ และ ลูกหนี้จะต้องใช้หนี้
หรือตอบแทนให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นหนี้ จึงจะเป็นไทแก่ตัวเอง แต่ถ้าใช้หนี้ไม่หมดด้วย
ความจงใจก็ดี ด้วยความพลั้งเผลอก็ดี จะแปรสภาพไปเป็นหนี้ประเภทที่ ๒ คือ หนี้กรรม
ภาษาพระท่านเรียกว่า เศษกรรมหมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตามที่ยังปลดเปลื้องหรือรับผลของการกระทำนั้นไม่หมด
หรือยังไม่เสร็จสิ้น ยังเหลือเศษที่ จะคอยตามให้ผล ตามเก็บหนี้ข้ามภพข้ามชาติจนกว่าจะหมด
ไม่มีทางที่จะหลบหลีกได้ ดังมี คำกลองเตือนใจ ทางธรรมดังนี้
จะซ่อนตัวในกลีบเมฆกลางเวหา ซ่อนกายากลางสมุทรสุดวิสัย
จะซ่อนตัวในป่าเขาลำเนาไพร ณ
ถิ่นใดพ้นกรรมนั้นไม่มี
คนเราเกิดมาล้วนเป็นหนี้ด้วยกันทุกคน
ไม่ว่าจะเป็นหนี้บุญคุณหรือเป็นหนี้สินเพราะไปยืมเขามา ข้อสำคัญอยู่ตรงที่ว่า
ต้องรีบขวนขวายใช้หนี้เสียให้หมด อย่าปล่อยให้เป็นหนี้กรรม ตามรบกวนใจให้เป็นทุกข์ ดั่งคำพระท่านว่า
“
อิณาทานัง ทุกขัง โลเก การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก
แต่การไม่ก่อหนี้ยืมสินนั้นแหละนับว่าเป็นสุขที่สุดในโลก ”
.......................................