ทำไมจึงฝัน
“ฝัน”
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า การเห็นเป็นเรื่องราวเมื่อหลับ
โดยปริยายหมายถึงการนึกเห็นในขณะที่ตื่นอยู่ ซึ่งไม่อาจจะเป็นจริงได้
อย่างเช่นคำว่า ฝันลมๆ แล้งๆ ฝันกลางวัน
ในคัมภีร์สารัตถสังคหะ
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า คนที่ฝันร้าย คือฝันเห็นสิ่งต่างๆ ที่น่ากลัว
เป็นเพราะเหตุที่ไม่มีสติสัมปชัญญะในเวลานอนหลับ ส่วนผู้ที่มีสติตั้งมั่น
มีสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งหลับแล้วก็จะฝันเห็นแต่สิ่งที่ดีเสมอ
ไม่ฝันถึงสิ่งชั่วร้ายหรือสิ่งที่น่าหวาดกลัวเลย ความฝันดีย่อมเกิดจากจิตสงบ
ถ้าอยากฝันดีก็ควรตั้งใจดี มีเมตตาแก่ทุกๆ คน โดยมูลเหตุแห่งฝันมีด้วยกัน ๔ ประการ
คือ
๑.บุพนิมิต
เกิดจากมีเหตุบอกให้รู้ล่วงหน้า
ว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ตนเองหรือคนใกล้ชิด
๒.จิตอาวรณ์
เกิดจากดวงจิตที่พะวงถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือพัวพันอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อนจะหลับ จึงเก็บเอาเรื่องนั้นไปฝัน
๓.เทพสังหรณ์
เกิดจากอิทธิฤทธิ์ของเทวดา เพราะเทวดาต้องการให้โทษหรือให้คุณ
(หมายถึงความเชื่อในสิ่งที่ปกปักษ์รักษาตนเอง แล้วเก็บไปฝัน)
๔.ธาตุกำเริบ
เกิดจากธาตุกำเริบ คือการที่ร่างกายไม่ปกติ ครั้นหลับลงจึงฝันเห็นเรื่องราวต่างๆ s
ความฝันเป็นเรื่องที่มนุษย์รู้จักและให้ความสนใจมาตั้งแต่โบราณกาล
แต่ไม่ว่าจะฝันดีหรือฝันร้าย มนุษย์ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในโลกของความฝันได้
มนุษย์จะต้องตื่นขึ้นมาพบกับความจริงในชีวิตจริงเสมอเมื่อตื่นขึ้นมาสิ่งหนึ่งที่ต้องยึดไว้มั่นก็คือการใช้ปัญญา
ใช้เหตุผล และความไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต
ซึ่งจะช่วยทำให้ปัจจุบันและอนาคตพบแต่สิ่งดีงามโดยไม่ต้องมัวพะวงกับความฝันเลย
............................................